วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Mariah Carey + Touch my body

ไม่ได้อัพมานาน คราวนี้มาเป็นเำพลงติดเรทนิดๆ
แปลเองอะไรเองเลย ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็บอกได้นะคะ 

Artist : Mariah Carey
Title : Touch my body

MC, you're the place to be
Oh yeah, oh yeah, oh yeah, oh yeah, oh yeah
Oh yeah, oh yeah, oh yeah, oh yeah
มาราย แครี่ในที่ที่คุณอยู่

I know that you've been waiting for it
I'm waiting too
In my imagination I'd be all up on you
I know you got that fever for me
Hundred and two
And boy I know I feel the same
My temperature's through the roof
ฉันรู้คุณยังรอมันอยู่
ฉันก็เหมือนกัน

ฉันจินตนาการว่าฉันทาบทับบนตัวคุณ

ฉันรู้ คุณได้รับความเร่าร้อนของฉัน
ฉันรู้ คุณได้รับความเร่าร้อนของฉัน
ร้อยสององศา
และหนุ่มน้อย ฉันรู้ ฉันก็รู้สึกเหมือนกัน
อุณหภูมิที่ทะลุหลังคานั้น

* If there's a camera up in here
Then it's gonna leave with me
When I do (I do)
If there's a camera up in here
Then I'd best not catch this flick
On YouTube (YouTube)
'Cause if you run your mouth and brag
About this secret rendezvous
I will hunt you down
'Cause they be all up in my bidness
Like a Wendy Interview
But this is private
Between you and I
ถ้ามีกล้องถ่ายวิดีโออยู่ที่นี่
ดังนั้น ไปที่อื่นกับฉันเถอะ
เมื่อฉันทำ

ถ้ามีกล้องถ่ายวิดีโออยู่ที่นี่

ดังนั้น ฉันจะไม่ถ่ายภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องนี้ไว้

บน ยูทูบ

เพราะ ถ้าคุณขยับปากเพื่อโอ้อวด

เกี่ยวกับความลับ ณ ที่นี้

ฉันจะตามล่าและฆ่าคุณ

เพราะว่า พวกเขาชอบยุ่งเรื่องของฉัน

เหมือนกับรายการสัมภาษณ์เวนดี้

แต่มันเป็นเรื่องส่วนตัว
ระหว่างฉันและคุณ

** Touch my body
Put me on the floor
Wrestle me around
Play with me some more
Touch my body
Throw me on the bed
I just wanna make you feel
Like you never did.
Touch my body
Let me wrap my thighs
All around your waist
Just a little taste
Touch my body
Know you love my curves
Come on and give me what I deserve
And touch my body.
สัมผัสร่างกายฉัน
วางฉันลงบนพื้น

ฟัดกับฉันไปรอบตัว

เล่นกับฉันมากกว่านี้

สัมผัสร่างกายฉัน

โยนฉันไปที่เตียง

ฉันแค่ต้องการทำให้คุณรู้สึก

ให้เหมือนที่คุณไม่เคยได้รับ

สัมผัสร่างกายฉัน

ให้ฉันได้มัดคุณไว้ด้วยต้นขาของฉัน

รอบๆเอวของคุณ

แค่การลิ้มลองเล็กน้อย

สัมผัสร่างกายฉัน

รู้ คุณรักรูปร่างของฉัน

เข้ามา และมอบในสิ่งที่ฉันควรจะได้

และสัมผัสร่างกายของฉัน


Boy you can put me on you
Like a brand new white tee
I'll hug your body tighter
Than my favorite jeans
I want you to caress me
Like a tropical breeze
And float away with you
In the Caribbean Sea
หนุ่มน้อย  คุณสามารถวางฉันไว้บนตัวคุณ
เหมือนกับฐานรองสีขาวอันใหม่

ฉันจะโอบกอดคุณไว้แน่นๆ

แน่นกว่ายีนส์ตัวโปรดของฉัน

ฉันต้องการให้คุณเล้าโลมฉัน

ดังเช่นสายลมร้อนๆ

และล่องลอยออกไปกับคุณ

ในทะเลแคริเบียน


[Repeat * , **]

I'm gonna treat you like a teddy bear
You won't wanna go nowhere
In the lap of luxury
Baby just turn to me
You won't want for nothing boy
I will give you plenty
Touch my body
ฉันจะปรนนิบัติคุณ ดังเช่น คุณเป็นหมีเทดดี้
คุณจะไม่ต้องการไปที่ไหนเลย
ในตักที่แสนพิเศษ
เด็กน้อยแค่เปิดทางให้ฉัน
คุณจะไม่ต้องการอะไรเลย หนุ่มน้อย
ฉันจะให้คุณได้อย่างล้นเหลือ
สัมผัสร่างกายฉัน

[Repeat **]

Oh yeah oh yeah oh yeah
Oh yeah oh yeah
Oh oh oh oh yeah
Touch my body...
สัมผัสร่างกายฉัน

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

Ralph Waldo Emerson (ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน)


     ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน (Ralf Waldo Emerson, พ.ศ. 2346-2425) กวีและนักเขียนบทความ เกิดที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเริ่มชีวิตด้วยการเป็นครู ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2372 ได้บวชเป็นพระที่โบสถ์ยูนิทาเรียน ในเมืองบอสตัน แต่ด้วยการมีมุมมองที่ถูกมองว่าแปลกที่น่าถกเถียงกันมากจึงต้องสึก ในปี พ.ศ. 2376 เอเมอร์สันได้เดินทางท่องเที่ยวยุโรปปละได้พบกับทอมัส คาร์ลีลย์ (ThomasCarlyle) ซึ่งได้ติดต่อกันอย่างใกล้ชิดต่อมาเป็นเวลาถึง 38 ปี ในปี พ.ศ. 2377 เอเมอร์สันได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองคองคอร์ด รัฐแมสสาชูเสตส์และได้เริ่มแต่ง บทร้อยแก้วกระทบอารมณ์ (Prose rhapsody) ชื่อ “ธรรมชาติ (Nature)”
     เมื่อ พ.ศ. 2379 และบทกวีอื่นๆ ที่สำคัญอีกหลายชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง “การดำเนินชีวิต (The Conduct of life – พ.ศ. 2403) เอเมอร์สันได้รับการยกย่องว่าเป็นนักอุตรวิสัย หรือนักคิดเหนือธรรมชาติ (transcendentalist)ด้านปรัชญา เป็นนักถือเหตุถือผลทางศาสนาและเป็นผู้สนับสนุนอย่างแรงกล้าในด้านปัจเจกชน

ผลงาน
  • Essays: First Series (1841)
  • Essays: Second Series (1844)
  • Poems (1847) 
  • Nature; Addresses and Lectures (1849)
  • Representative Men (1850)
  • English Traits (1856)
  • The Conduct of Life (1860)
  • May Day and Other Poems (1867)
  • Society and Solitude (1870)
  • Letters and Social Aims (1876)
บทความ
  • "Self-Reliance" (Essays: First Series)
  • "Compensation" (First Series)
  • "The Over-Soul" (First Series)
  • "Circles" (First Series)
  • "The Poet" (Second Series)
  • "Experience" (Essays: Second Series)
  • "Nature" (Second Series)
  • "Politics" (Second Series)
  • "The American Scholar"
  • "New England Reformers"
กวีนิพนธ์
  • "Concord Hymn"
  • "The Rhodora"
แหล่งข้อมูลจาก วิกิพิเดีย

เวนิสวาณิช บทประพันธ์จาก William Shakespeare

     เวนิสวาณิช (อังกฤษ: The Merchant of Venice) เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1596-1598 จัดอยู่ในประเภทละครชวนหัว แต่ต่อมาก็ได้รับการยอมรับให้เป็นวรรณกรรมโรแมนติกในบรรดาผลงานของเช็คสเปียร์ทั้งหมด เนื่องจากมีฉากรักที่โดดเด่นมาก และความโด่งดังของตัวละคร ไชล็อก

    The Merchant of Venice ได้แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459 นอกจากนี้ยังมี เวนิสวาณิช ฉบับการ์ตูน เรียบเรียงโดย ชลลดา ชะบางบอน
บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือ
The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
อันว่าความกรุณาปรานี    จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ    จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
และอีกบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ
Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
ความเอยความรัก            เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ     หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง        อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี     ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
ตอบเอยตอบถ้อย             เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้            เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร             เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน      ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย

ตัวละครหลัก
ชาวเวนิสชาวยิว คู่ปรับของอันโตนิโย
  • อันโตนิโย (Antonio) พ่อค้าวาณิช

  • บัสสานิโย (Bassanio) เพื่อนของอันโตนิโย

  • ไชล็อก (Shylock) พ่อค้า

  • ปอร์เชีย (Portia) สาวงาม ต่อมาได้แต่งงานกับบัสสานิโย

  • เจสสิกา (Jessica) ลูกสาวของไชล็อก




  • ที่มา: วิกิพิเดีย

    Hamlet บทประพันจาก William Shakespeare


         แฮมเลต (อังกฤษ: Hamlet) เป็นบทละครแนวโศกนาฏกรรมเขียนขึ้นโดยวิลเลียม เชกสเปียร์ เชื่อกันว่าประพันธ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1599และ1601 บทละครนี้ฉากกำหนดให้ดำเนินเรื่องในประเทศเดนมาร์กเรื่องราวเกี่ยวกับความพยายามที่จะล้างแค้นลุง หรือกษัตริย์คลอดิอัสของเจ้าชายแฮมเล็ต เนื่องจากลุงของแฮมเล็ตเป็นผู้แอบลอบสังหารบิดาของแฮมเล็ต หรืออดีตกษัตริย์แฮมเล็ต เพื่อที่จะชิงราชบังลังก์และมารดาของแฮมเล็ต หรือราชินีเกอทรูดบทละครมุ่งสำรวจเกี่ยวกับความวิกลจริตโดยแท้จริง และการแสร้งวิกลจริตโดยเกิดจากความโศกเศร้าทวีไปถึงความโกรธเกรี้ยว โครงเรื่องนั้นมีทั้งการทรยศ การล้างแค้น อศีลธรรมและการแต่งงานภายในครอบครัว ปีที่เช็คสเปียร์ประพันธ์บทละครแฮมเล็ตที่แน่ชัดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บทละครที่รอดมาได้มีอยู่ด้วยกัน 3 ฉบับที่รู้จักกันในชื่อ First Quarto (Q1), Second Quarto (Q2) และ First Folio(F1) แต่ละฉบับนั้นต่างมีบรรทัดหรือฉากที่ขาดเกินกันไป เช็คสเปียร์นั้นอาจจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากตำนานของกษัตริย์แอมเล็ธ ที่เรื่องที่ถูกเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่13จนมาถึงศตวรรษที่ 16 และส่วนหนึ่งอาจจะมาจากบทละครที่สาบสูญไปของยุคอลิซบีเธน ชื่ออูร์แฮมเล็ต (Ur-Hamlet)
         เนื่องจากบทละครนี้มีการสร้างตัวละครไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง แฮมเล็ตจึงเป็นบทละครที่สามารถ     วิเคราะห์ตีความได้จากหลายมุมมอง ยกตัวอย่างเช่นมีผู้ตั้งข้อสังเกตมากว่าศตวรรษเกี่ยวกับความลังเลที่จะฆ่าลุงหรือกษัตริย์คลอดิอัสของแฮมเล็ต
          เช่นเดียวกับที่บางกลุ่มสามารถตีความในมุมมองของสตรีนิยมในเรื่องของราชินีเกอทรูดและโอฟีเลีย ได้บทละครแฮมเล็ตเป็นบทละครที่มีความยาวที่สุดในบรรดาบทละครโศกนาฎกรรมของวรรณคดีอังกฤษ ระหว่างช่วงชีวิตของเช็คสเปียร์บทละครนี้เป็นหนึ่งในงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเขาและยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งผลงานที่ได้รับการนำไปเล่นละครเวทีมากที่สุด นอกจากนี้บทละครแฮมเล็ตยังมีส่วนสร้างแรงดลใจให้แก่นักประพันธ์หลายคนเช่นเกอเธ่ ดิคเกนส์ และเจมส์ จอยซ์ เป็นต้น

    เนื้อเรื่อง
         กษัตริย์แห่งเดนมาร์กถูกพี่ชายชื่อ คลอดิอัส ลอบปลงพระชนม์เพื่อแย่งบัลลังก์และอดีตราชินี วิญญาณของกษัตริย์แฮมเล็ตจึงได้มาหาโอรสหรือเจ้าชาย แฮมเล็ต และบัญชาให้ล้างแค้น เจ้าชาย แฮมเล็ตกลัดกลุ้มพระทัยมากจึงแกล้งทำเป็นบ้าและผลักไสนางโอฟิเลีย หญิงสาวที่ตนหลงรัก ทรงวางแผนเปิดโปง คลอดิอัส โดยให้คณะละครเร่มาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ แฮมเล็ตได้ฆ่าโพโลนีอัสพ่อของโอฟิเลีย โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็น คลอดิอัส ส่วนคลอดิอัสก็วางแผนกำจัดเขาเช่นเดียวกันแต่ไม่สำเร็จ โอฟิเลียโดดน้ำตายเพราะความทุกข์ ลาเอร์เทสพี่ชายของโอฟิเลียท้าแฮมเล็ตดวลดาบ บทละครจบลงด้วยตัวละครสำคัญตายหมด สุดท้าย เจ้าชายฟอร์ทินบราส์แห่งนอร์เวย์ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ทั้งหมด

    ที่มา: วิกิพิเดีย

    วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

    Romeo and Juliet

       
        ผลงานประพันธ์แนวโศกนาฎกรรมโรมานซ์ ของ William Shakespeare


        ผลงานประพันธ์มีพล็อตเรื่องหลักมาจากนิยายของอิตาลี และ Shakespeare ได้นำมาขยายปรับปรุงเรื่องใหม่ ว่ากันว่าเขาเขียนมันขึ้นระหว่างปี 1591 ถึง 1595 และถูกตีพิมพ์เป็นเล่มในปี 1597

        เนื้อเรื่องภายใน ไม่เพียงแต่เป็นความโศกเศร้าเท่านั้น แต่แฝงไว้ด้วยความขบขัน ในตัวละครต่างๆ ที่ Shakespeare ได้วางไว้ จน Romeo and Juliet ได้นิยมนำมาแสดงเป็นละครเวที ภาพยนตร์ ละครเพลงและโอเปร่า หลากหลายเวอร์ชัน

        ในระหว่างศตวรรษที่ 18 บทประพันธ์ก็ได้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทำให้เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก จนในศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการคืนข้อความต้นฉบับและเน้นความสมจริงมากขึ้น และในศตวรรษที่ 20 ก็มีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น


    ตัวละคร

    ตระกูลคาปุเล็ต
    Capulet หัวหน้าตระกูลคาปุเล็ต
    Lady Capulet นายหญิงแห่งตระกูลคาปุเล็ต

    Juliet ลูกสาวของคาปุเล็ต และตัวเอกหญิงของเรื่อง

    Tybalt ลูกพี่ลูกน้องของ Juliet และเป็นหลานชายของ Lady Capulet

    Nurse พยาบาลคนสนิทหญิงที่ Juliet ไว้ใจ

    Peter, Sampson และ Gregory เป็นคนงานในครอบครัว คาปุเล็ต

    Rosaline หลานสาวของคาปุเล็ต เป็นตัวดำเนินเรื่องในความสัมพันธ์ลับๆ ของ Juliet และ Romeo
    ตระกูลมอนตะคิว
    Montague หัวหน้าตระกูล มอนตะคิว

    Lady Montague นายหญิงแห่งตระกูลมอนตะคิว

    Romeo เป็นบุตรของ Montague กับ Lady Montague และเป็นตัวเอกชายของเรื่อง

    Benvolio เป็นญาติและเพื่อนของ Romeo

    อับราฮัม และ Balthasar เป็นคนงานในครอบครัวมอนตะคิว
    ผู้เป็นใหญ่ของเมืองเวโรนา
    Prince Escalus เป็นเจ้าชายของเมืองเวโรนา

    Count Paris เป็นวงศคณาญาติของ Escalus และต้องการจะแต่งงานกับ Juliet

    Mercutio เป็นวงศคณาญาติของ Escalus และเป็นเพื่อนของ Romeo
     อื่นๆ
    นักบวช Laurence เป็นนักบวชและคนสนิทของ Romeo

    ผู้นำเรื่อง จะกล่าวถึงความเป็นไปของทั้งสองฝ่าย

    นักบวช John เป็นผู้ส่งจดหมายไปยัง นักบวช Laurence เพื่อส่งต่อไปยัง Romeo

    ผู้ผสมยาพิษ เป็นคนขายยาพิษอย่างไม่เต็มใจให้กับ Romeo
    เรื่องย่อ

        เรื่องนี้เกิดขึ้น ณ เมืองเวโรนา ซึ่งมี 2 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลคาปุเล็ตและมอนตะคิวซึ่งไม่ถูกกัน เมื่อโรมิโอแห่งตระกูลมอนตะคิวแอบเข้าไปในงานเลี้ยงของตระกูลคาปุเล็ตและพบกับจูเลียต เพียงแค่สบตากันทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกัน โรมิโอกับจูเลียตจึงได้จัดการแต่งงานแต่งงานกันอย่างลับๆ เพราะความบาดหมางของตระกูล

        วันหนึ่งเมอร์คิวชิโอ เพื่อนรักของโรมิโอทะเลาะกับน้องชายของจูเลียตและน้องชายของจูเลียตก็ได้ฆ่าเพื่อนรักของโรมิโอตาย โรมิโอโกรธมากจึงพลั้งมือฆ่าน้องชายของจูเลียตตาย โรมิโอจึงถูกตัดสินให้เนรเทศออกนอกเมืองตลอดกาล

        จูเลียตรู้เรื่องจึงกินยาพิษที่ทำให้เหมือนตายแล้วแต่จริงๆ ยังไม่ตาย โรมิโอทราบเรื่องและเข้าใจว่าจูเลียตตายจริงๆ ก็เสียใจมากจึงฆ่าตัวตาย พอจูเลียตตื่นขึ้นมารู้เรื่องจูเลียตก็ฆ่าตัวตายตามโรมิโอ ทั้งสองตระกูลเศร้าโศกมาก จึงเลิกบาดหมางกัน

    ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

    วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    ขอไร้สาระหน่อยนะ “ต้มยำไก่น้ำใส ใส่ฟัก”

        วันนี้จะทำแกงเขียวหวานไก่ เตรียมฟัก เตรียมไก่ เตรียมเครื่อง ทุกอย่างไว้พร้อม หั่นๆ เฉือนๆ พอจะทำจริง นึกขึ้นได้


    “ไม่มีโหระพานี่หว่า”

    ชั่งใจนิดนึง

    “จะทำแกงเขียวหวานทั้งที่ไม่มีโหระพาดีมั้ยนะ...”

    “ไม่ได้ๆ เดี๋ยวไม่หอม”

    “แต่หั่นฟักไว้แล้วนะ”

    “เครียดๆๆ”

    กลับไปสำรวจเครื่องในตู้เย็นใหม่

    “อืม...ทำอะไรดีหว่า”

    เอาหัวมุดตู้เย็น (หาวัตถุดิบ)

    “มีตะไคร้ กับข่า -*- หรือว่าทำต้มยำดีนะ”

    “แต่ว่าหั่นฟักไว้แล้วนิ ต้มยำใส่ฟักมันแปลกๆ เน้อ”

    ชั่งใจอีกรอบ

    “ฟักหั่นไว้แล้วน้า ถ้าไม่ใช้เสียของพอดี”

    “เอาวะ ทำต้มยำไก่ใส่ฟักนี่แหละ”


    ว่าแล้วข้าพเจ้าก็จัดการเอาเครื่องต้มยำมาหั่น อันได้แก่

    1. ข่า
    2. ตะไคร้
    3. ใบมะกรูด
    4. พริก

    หั่นเรียบร้อยก็จัดการตั้งกะทะ (ข้าพเจ้าใช้กะทะไฟฟ้าเน้อ) ใส่น้ำแล้วก็เครื่อง (ข่า ตะไคร้ ในมะกรูด) ลงไป



    รอให้เดือด แล้วใส่ไก่ (ที่หั่นไว้แล้ว) ลงไป ต้มจนไก่สุก



    ปรุงรสด้วยเกลือ (จะใส่น้ำปลาก็ได้นะ แต่ว่ามันเค็มคนละแบบ ถนัดใส่อะไร ก็ใส่อันนั้นแล) น้ำตาล (บางคนก็ไม่ใส่เน้อ) แล้วก็ชิมรสตามชอบ



    ใส่ฟักลงไป รอจนฟักสุก แล้วใส่พริก ปิดไฟ หอมล่ะทีนี้



    สงสัยมั้ยจ้ะ ว่าทำไมไม่ใส่น้ำมะนาว ข้าพเจ้าใส่น้ำมะนาวตอนตักใส่ถ้วยเน้อ ( วิธีทำ ของแต่ละคนจะต่างออกไป แล้วแต่ถนัด)



    อ้อๆ ข้าพเจ้าไม่ใส่มะเขือเทศเน้อ เพราะไม่ชอบแล้วก็ไม่มีด้วยแหละ (ใครชอบก็ใส่ไปซะนะ) แถมไม่มีเห็ด อีกตะหาก ตามมีตามเกิด อิอิ (เห็ดใส่หลังไก่สุกเน้อ) แล้วก็อย่าลืมหุงข้าวไว้ก่อนล่ะ ข้าพเจ้าทำต้มยำเสร็จ เพิ่งนึกได้ ยังไม่หุงข้าวนี่หว่า (ขี้ลืมซะจริง = =”) ต้องรอข้าวสุกอีก ทรมานกระเพาะจริงเน้อ


    ไหน ๆ ก็ไหนๆ ละ มีภาพประกอบหน่อยละกัน

    ตอนเดือด



    เสร็จแล้วเย้ๆ



    อยู่ในถ้วยแล้วจ้า


    ต้มยำใส่ฟัก ข้าพเจ้า พิสูจน์ มาแล้ว กินได้ ไม่ตาย ส่วน อร่อยไม่อร่อยอีกเรื่องนึง 555+



    คนที่ทำกับข้าวไม่เป็น ไม่ต้องกลัว ทำไปเถอะ ถ้าไม่เริ่มทำก็ไม่เป็นซักทีน่ะสิ

    จากสำนวนของ William Shakespeare ว่า
    They say, best men are moulded out of faults.
    ยอดคนคือผู้ฝึกฝนจากความผิดพลาด
    (ไม่รู้ว่าแปลถูกรึเปล่านะ ถ้าแปลผิดก็บอกด้วยละกัน เข้าใจว่างี้อ่ะ)

    แรกๆ อาจจะไม่อร่อย ทำบ่อยๆ ก็อร่อยเองแหละ สู้ๆ



        ปล. ข้าพเจ้าแง้มๆ ในอินเตอร์เน็ต หาต้มยำใส่ฟัก ไม่เจอ แต่เปิดไปเจอ วิธีทำต้มยำอยู่เว็บไซต์หนึ่ง (ไม่บอกละกันว่าเว็บไซต์ไหน) วัตถุดิบและวิธีทำมันเป็นต้มยำน้ำใสแท้ๆ แต่ไหงภาพประกอบ มันเป็นต้มยำน้ำพริกเผาได้เน้อ ไม่เข้าใจจริงๆ ไม่ทราบว่าเจ้ ใส่น้ำพริกเผาตอนไหนเนี่ย!!!

    วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare)

         วิลเลียม เชกสเปียร์ (อังกฤษ: William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด


        เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1585-1592 เขาประสบความสำเร็จในการเป็นนักแสดงในกรุงลอนดอน รวมถึงการเป็นนักเขียน ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในคณะละครลอร์ดเชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain's Men) ซึ่งในภายหลังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ King's Men เชกสเปียร์เกษียณตัวเองกลับไปยังสแตรทฟอร์ดในราวปี ค.ศ. 1613 และเสียชีวิตในอีกสามปีต่อมา ไม่ค่อยมีบันทึกใดเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเชกสเปียร์มากนัก จึงมีทฤษฎีมากมายที่คาดกันไปต่างๆ นานา เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา และแรงบันดาลใจในงานเขียนของเขา

        ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเชกสเปียร์ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1590 ถึง 1613 ในยุคแรกๆ บทละครของเขาจะเป็นแนวชวนหัวและแนวอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางบทละครที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาเขาเขียนบทละครแนวโศกนาฏกรรมหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง แฮมเล็ต King Lear และ แม็คเบธ ซึ่งถือว่าเป็นบทละครตัวอย่างชั้นเลิศของวรรณกรรมอังกฤษ ในช่วงปลายของการทำงาน งานเขียนของเขาจะเป็นแนวสุข-โศกนาฏกรรม (tragicomedies) หรือแนวโรมานซ์ และยังร่วมมือกับนักเขียนบทละครคนอื่นๆ อีกมาก บทละครของเขาตีพิมพ์เผยแพร่ในหลายรูปแบบโดยมีรายละเอียดและเนื้อหาต่างๆ กันตลอดช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ ในปี ค.ศ. 1623 เพื่อนร่วมงานสองคนในคณะละครของเขาได้ตีพิมพ์หนังสือ "First Folio" เป็นการรวบรวมงานเขียนของเขาขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้บรรจุบทละครที่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นงานเขียนของเชกสเปียร์เอาไว้ทั้งหมด (ขาดไปเพียง 2 เรื่อง)

        ในยุคสมัยของเขา เชกสเปียร์เป็นกวีและนักเขียนบทละครที่ได้รับการยกย่องอยู่พอตัว และเขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงเช่นในปัจจุบันนี้นับตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 กวียุคโรแมนติกยกย่องนับถือเชกสเปียร์ในฐานะอัจฉริยะ ขณะที่กวียุควิคตอเรียเคารพนับถือเชกสเปียร์อย่างยิ่ง กระทั่ง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เรียกเขาว่า Bardolatry (คำยกย่องในทำนอง "จอมกวี" หรือ "เทพแห่งกวี") ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการดัดแปลงงานประพันธ์ของเขาออกไปเป็นรูปแบบแนวทางใหม่ๆ โดยเหล่านักวิชาการและนักแสดงมากมาย ผลงานของเขายังคงเป็นที่นิยมอย่างสูงจนถึงปัจจุบันและมีการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ในทุกประเทศทุกวัฒนธรรมทั่วโลก



    ตัวอย่างผลงานบางส่วน


    - Romeo and Juliet โรมิโอกับจูเลียต

    - Hamlet แฮมเลต

    - Julius Caesar จูเลียส ซีซาร์

    - Othello โอเธลโล

    - Measure for Measure

    - Twelfth Night ราตรีที่สิบสอง หรืออะไรก็ได้

    - King Lear

    - The Merchant of Venice เวนิสวาณิช

    - The Phoenix and the Turtle

    - The Birth of Merlin