วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

Ralph Waldo Emerson (ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน)


     ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน (Ralf Waldo Emerson, พ.ศ. 2346-2425) กวีและนักเขียนบทความ เกิดที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเริ่มชีวิตด้วยการเป็นครู ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2372 ได้บวชเป็นพระที่โบสถ์ยูนิทาเรียน ในเมืองบอสตัน แต่ด้วยการมีมุมมองที่ถูกมองว่าแปลกที่น่าถกเถียงกันมากจึงต้องสึก ในปี พ.ศ. 2376 เอเมอร์สันได้เดินทางท่องเที่ยวยุโรปปละได้พบกับทอมัส คาร์ลีลย์ (ThomasCarlyle) ซึ่งได้ติดต่อกันอย่างใกล้ชิดต่อมาเป็นเวลาถึง 38 ปี ในปี พ.ศ. 2377 เอเมอร์สันได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองคองคอร์ด รัฐแมสสาชูเสตส์และได้เริ่มแต่ง บทร้อยแก้วกระทบอารมณ์ (Prose rhapsody) ชื่อ “ธรรมชาติ (Nature)”
     เมื่อ พ.ศ. 2379 และบทกวีอื่นๆ ที่สำคัญอีกหลายชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง “การดำเนินชีวิต (The Conduct of life – พ.ศ. 2403) เอเมอร์สันได้รับการยกย่องว่าเป็นนักอุตรวิสัย หรือนักคิดเหนือธรรมชาติ (transcendentalist)ด้านปรัชญา เป็นนักถือเหตุถือผลทางศาสนาและเป็นผู้สนับสนุนอย่างแรงกล้าในด้านปัจเจกชน

ผลงาน
  • Essays: First Series (1841)
  • Essays: Second Series (1844)
  • Poems (1847) 
  • Nature; Addresses and Lectures (1849)
  • Representative Men (1850)
  • English Traits (1856)
  • The Conduct of Life (1860)
  • May Day and Other Poems (1867)
  • Society and Solitude (1870)
  • Letters and Social Aims (1876)
บทความ
  • "Self-Reliance" (Essays: First Series)
  • "Compensation" (First Series)
  • "The Over-Soul" (First Series)
  • "Circles" (First Series)
  • "The Poet" (Second Series)
  • "Experience" (Essays: Second Series)
  • "Nature" (Second Series)
  • "Politics" (Second Series)
  • "The American Scholar"
  • "New England Reformers"
กวีนิพนธ์
  • "Concord Hymn"
  • "The Rhodora"
แหล่งข้อมูลจาก วิกิพิเดีย

เวนิสวาณิช บทประพันธ์จาก William Shakespeare

     เวนิสวาณิช (อังกฤษ: The Merchant of Venice) เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1596-1598 จัดอยู่ในประเภทละครชวนหัว แต่ต่อมาก็ได้รับการยอมรับให้เป็นวรรณกรรมโรแมนติกในบรรดาผลงานของเช็คสเปียร์ทั้งหมด เนื่องจากมีฉากรักที่โดดเด่นมาก และความโด่งดังของตัวละคร ไชล็อก

    The Merchant of Venice ได้แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459 นอกจากนี้ยังมี เวนิสวาณิช ฉบับการ์ตูน เรียบเรียงโดย ชลลดา ชะบางบอน
บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือ
The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
อันว่าความกรุณาปรานี    จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ    จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
และอีกบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ
Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
ความเอยความรัก            เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ     หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง        อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี     ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
ตอบเอยตอบถ้อย             เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้            เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร             เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน      ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย

ตัวละครหลัก
ชาวเวนิสชาวยิว คู่ปรับของอันโตนิโย
  • อันโตนิโย (Antonio) พ่อค้าวาณิช

  • บัสสานิโย (Bassanio) เพื่อนของอันโตนิโย

  • ไชล็อก (Shylock) พ่อค้า

  • ปอร์เชีย (Portia) สาวงาม ต่อมาได้แต่งงานกับบัสสานิโย

  • เจสสิกา (Jessica) ลูกสาวของไชล็อก




  • ที่มา: วิกิพิเดีย

    Hamlet บทประพันจาก William Shakespeare


         แฮมเลต (อังกฤษ: Hamlet) เป็นบทละครแนวโศกนาฏกรรมเขียนขึ้นโดยวิลเลียม เชกสเปียร์ เชื่อกันว่าประพันธ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1599และ1601 บทละครนี้ฉากกำหนดให้ดำเนินเรื่องในประเทศเดนมาร์กเรื่องราวเกี่ยวกับความพยายามที่จะล้างแค้นลุง หรือกษัตริย์คลอดิอัสของเจ้าชายแฮมเล็ต เนื่องจากลุงของแฮมเล็ตเป็นผู้แอบลอบสังหารบิดาของแฮมเล็ต หรืออดีตกษัตริย์แฮมเล็ต เพื่อที่จะชิงราชบังลังก์และมารดาของแฮมเล็ต หรือราชินีเกอทรูดบทละครมุ่งสำรวจเกี่ยวกับความวิกลจริตโดยแท้จริง และการแสร้งวิกลจริตโดยเกิดจากความโศกเศร้าทวีไปถึงความโกรธเกรี้ยว โครงเรื่องนั้นมีทั้งการทรยศ การล้างแค้น อศีลธรรมและการแต่งงานภายในครอบครัว ปีที่เช็คสเปียร์ประพันธ์บทละครแฮมเล็ตที่แน่ชัดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บทละครที่รอดมาได้มีอยู่ด้วยกัน 3 ฉบับที่รู้จักกันในชื่อ First Quarto (Q1), Second Quarto (Q2) และ First Folio(F1) แต่ละฉบับนั้นต่างมีบรรทัดหรือฉากที่ขาดเกินกันไป เช็คสเปียร์นั้นอาจจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากตำนานของกษัตริย์แอมเล็ธ ที่เรื่องที่ถูกเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่13จนมาถึงศตวรรษที่ 16 และส่วนหนึ่งอาจจะมาจากบทละครที่สาบสูญไปของยุคอลิซบีเธน ชื่ออูร์แฮมเล็ต (Ur-Hamlet)
         เนื่องจากบทละครนี้มีการสร้างตัวละครไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง แฮมเล็ตจึงเป็นบทละครที่สามารถ     วิเคราะห์ตีความได้จากหลายมุมมอง ยกตัวอย่างเช่นมีผู้ตั้งข้อสังเกตมากว่าศตวรรษเกี่ยวกับความลังเลที่จะฆ่าลุงหรือกษัตริย์คลอดิอัสของแฮมเล็ต
          เช่นเดียวกับที่บางกลุ่มสามารถตีความในมุมมองของสตรีนิยมในเรื่องของราชินีเกอทรูดและโอฟีเลีย ได้บทละครแฮมเล็ตเป็นบทละครที่มีความยาวที่สุดในบรรดาบทละครโศกนาฎกรรมของวรรณคดีอังกฤษ ระหว่างช่วงชีวิตของเช็คสเปียร์บทละครนี้เป็นหนึ่งในงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเขาและยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งผลงานที่ได้รับการนำไปเล่นละครเวทีมากที่สุด นอกจากนี้บทละครแฮมเล็ตยังมีส่วนสร้างแรงดลใจให้แก่นักประพันธ์หลายคนเช่นเกอเธ่ ดิคเกนส์ และเจมส์ จอยซ์ เป็นต้น

    เนื้อเรื่อง
         กษัตริย์แห่งเดนมาร์กถูกพี่ชายชื่อ คลอดิอัส ลอบปลงพระชนม์เพื่อแย่งบัลลังก์และอดีตราชินี วิญญาณของกษัตริย์แฮมเล็ตจึงได้มาหาโอรสหรือเจ้าชาย แฮมเล็ต และบัญชาให้ล้างแค้น เจ้าชาย แฮมเล็ตกลัดกลุ้มพระทัยมากจึงแกล้งทำเป็นบ้าและผลักไสนางโอฟิเลีย หญิงสาวที่ตนหลงรัก ทรงวางแผนเปิดโปง คลอดิอัส โดยให้คณะละครเร่มาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ แฮมเล็ตได้ฆ่าโพโลนีอัสพ่อของโอฟิเลีย โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็น คลอดิอัส ส่วนคลอดิอัสก็วางแผนกำจัดเขาเช่นเดียวกันแต่ไม่สำเร็จ โอฟิเลียโดดน้ำตายเพราะความทุกข์ ลาเอร์เทสพี่ชายของโอฟิเลียท้าแฮมเล็ตดวลดาบ บทละครจบลงด้วยตัวละครสำคัญตายหมด สุดท้าย เจ้าชายฟอร์ทินบราส์แห่งนอร์เวย์ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ทั้งหมด

    ที่มา: วิกิพิเดีย

    วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

    Romeo and Juliet

       
        ผลงานประพันธ์แนวโศกนาฎกรรมโรมานซ์ ของ William Shakespeare


        ผลงานประพันธ์มีพล็อตเรื่องหลักมาจากนิยายของอิตาลี และ Shakespeare ได้นำมาขยายปรับปรุงเรื่องใหม่ ว่ากันว่าเขาเขียนมันขึ้นระหว่างปี 1591 ถึง 1595 และถูกตีพิมพ์เป็นเล่มในปี 1597

        เนื้อเรื่องภายใน ไม่เพียงแต่เป็นความโศกเศร้าเท่านั้น แต่แฝงไว้ด้วยความขบขัน ในตัวละครต่างๆ ที่ Shakespeare ได้วางไว้ จน Romeo and Juliet ได้นิยมนำมาแสดงเป็นละครเวที ภาพยนตร์ ละครเพลงและโอเปร่า หลากหลายเวอร์ชัน

        ในระหว่างศตวรรษที่ 18 บทประพันธ์ก็ได้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทำให้เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก จนในศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการคืนข้อความต้นฉบับและเน้นความสมจริงมากขึ้น และในศตวรรษที่ 20 ก็มีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น


    ตัวละคร

    ตระกูลคาปุเล็ต
    Capulet หัวหน้าตระกูลคาปุเล็ต
    Lady Capulet นายหญิงแห่งตระกูลคาปุเล็ต

    Juliet ลูกสาวของคาปุเล็ต และตัวเอกหญิงของเรื่อง

    Tybalt ลูกพี่ลูกน้องของ Juliet และเป็นหลานชายของ Lady Capulet

    Nurse พยาบาลคนสนิทหญิงที่ Juliet ไว้ใจ

    Peter, Sampson และ Gregory เป็นคนงานในครอบครัว คาปุเล็ต

    Rosaline หลานสาวของคาปุเล็ต เป็นตัวดำเนินเรื่องในความสัมพันธ์ลับๆ ของ Juliet และ Romeo
    ตระกูลมอนตะคิว
    Montague หัวหน้าตระกูล มอนตะคิว

    Lady Montague นายหญิงแห่งตระกูลมอนตะคิว

    Romeo เป็นบุตรของ Montague กับ Lady Montague และเป็นตัวเอกชายของเรื่อง

    Benvolio เป็นญาติและเพื่อนของ Romeo

    อับราฮัม และ Balthasar เป็นคนงานในครอบครัวมอนตะคิว
    ผู้เป็นใหญ่ของเมืองเวโรนา
    Prince Escalus เป็นเจ้าชายของเมืองเวโรนา

    Count Paris เป็นวงศคณาญาติของ Escalus และต้องการจะแต่งงานกับ Juliet

    Mercutio เป็นวงศคณาญาติของ Escalus และเป็นเพื่อนของ Romeo
     อื่นๆ
    นักบวช Laurence เป็นนักบวชและคนสนิทของ Romeo

    ผู้นำเรื่อง จะกล่าวถึงความเป็นไปของทั้งสองฝ่าย

    นักบวช John เป็นผู้ส่งจดหมายไปยัง นักบวช Laurence เพื่อส่งต่อไปยัง Romeo

    ผู้ผสมยาพิษ เป็นคนขายยาพิษอย่างไม่เต็มใจให้กับ Romeo
    เรื่องย่อ

        เรื่องนี้เกิดขึ้น ณ เมืองเวโรนา ซึ่งมี 2 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลคาปุเล็ตและมอนตะคิวซึ่งไม่ถูกกัน เมื่อโรมิโอแห่งตระกูลมอนตะคิวแอบเข้าไปในงานเลี้ยงของตระกูลคาปุเล็ตและพบกับจูเลียต เพียงแค่สบตากันทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกัน โรมิโอกับจูเลียตจึงได้จัดการแต่งงานแต่งงานกันอย่างลับๆ เพราะความบาดหมางของตระกูล

        วันหนึ่งเมอร์คิวชิโอ เพื่อนรักของโรมิโอทะเลาะกับน้องชายของจูเลียตและน้องชายของจูเลียตก็ได้ฆ่าเพื่อนรักของโรมิโอตาย โรมิโอโกรธมากจึงพลั้งมือฆ่าน้องชายของจูเลียตตาย โรมิโอจึงถูกตัดสินให้เนรเทศออกนอกเมืองตลอดกาล

        จูเลียตรู้เรื่องจึงกินยาพิษที่ทำให้เหมือนตายแล้วแต่จริงๆ ยังไม่ตาย โรมิโอทราบเรื่องและเข้าใจว่าจูเลียตตายจริงๆ ก็เสียใจมากจึงฆ่าตัวตาย พอจูเลียตตื่นขึ้นมารู้เรื่องจูเลียตก็ฆ่าตัวตายตามโรมิโอ ทั้งสองตระกูลเศร้าโศกมาก จึงเลิกบาดหมางกัน

    ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย